Pages

Monday, June 29, 2020

ศบค. ไฟเขียว 'ต่างชาติ 6 กลุ่ม' เดินทางเข้าไทย - thebangkokinsight.com

oleholah.blogspot.com

“ศบค.” ไฟเขียว “ต่างชาติ 6 กลุ่ม” เดินทางเข้าไทยได้ เตรียมทำข้อตกลงพิเศษ “ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้-สิงคโปร์-จีน-ฮ่องกง” เปิดการเดินทางนักธุรกิจ-ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เปิดเผยว่า วันนี้ (29 มิ.ย. 63) ที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน มีมติผ่อนคลายการเดินทางของคนต่างชาติเข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มเติมจำนวน 6 กลุ่ม ตามที่กระทรวงต่างประเทศเสนอ ดังนี้

1.คู่สมรสและบุตรของผู้ที่มีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หรือได้รับอนุญาตจากกทางราชการให้ทำงานในราชอาณาจักร

2.ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

3.คู่สมรสต่างชาติและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสัญชาติไทย

4.ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยที่มีความจำเป็นต้องเข้ามารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทยและผู้ติดตาม ซึ่งจะเน้นการเดินทางเข้ามารักษาโรคบางกลุ่ม แต่ไม่ใช่อาการป่วยด้วยโรคโควิด-19 เช่น การทำตา 2 ชั้น, เสริมจมูก, ตรวจการมีบุตรยาก เป็นต้น

5.นักเรียน นักศึกษาต่างชาติ และผู้ปกครองของบุคคลดังกล่าว

6.ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย ที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าราชอาณาจักรตามข้อตกลงพิเศษ (Special Arrangement) กับประเทศเป้าหมาย ได้แก่ แขกของรัฐบาล นักลงทุน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค

นพ.ทวีศิลป์กล่าวต่อว่า สำหรับการเดินทางเข้าประเทศแบบ Special Arrangement มีกลุ่มเป้าหมายเป็น 4 ประเทศและ 1 เขตปกครองพิเศษ คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ จีน และฮ่องกง  โดยใช้เกณฑ์การพิจารณา 4 ด้านในการคัดเลือก คือ

  1. มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อไทย
  2. ควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีใกล้เคียงกับไทย
  3. มีระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ
  4. มีความพร้อมและความสนใจทำข้อตกลง

อย่างไรก็ตาม การเดินทางเข้ามาของชาวต่างชาติต้องกำหนดโควต้าให้สอดคล้องกับสถานที่กักกันของรัฐที่เป็นทางเลือก ซึ่งเป็นโรงแรมหรูที่จับมือกับโรงพยาบาลทั้งหลาย โดยผู้ที่เข้ามาต้องจ่ายเงินเองและในขั้นต้นกำหนดจำนวนไม่เกิน 200 คนต่อวัน เพื่อให้สอดคล้องกับห้องทั้งหมด 600 ห้อง

การเดินทางเข้า 2 วิธี

1.ช่องทางปกติ (Normal Track) สำหรับผู้เข้ามาทำงานและพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานาน จะต้องเข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด 14 วัน โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

บุคคลเข้าข่าย คือ ชาวต่างชาติภายใต้ข้อ 3 (5) ของข้อกำหนดฯ เดิม และชาวต่างชาติในกลุ่มที่มีการตกลงกับประเทศเป้าหมายตามโควตาที่เห็นชอบร่วมกัน

2.ช่องทางด่วน (Fast Track) สำหรับนักธุรกิจ/ผู้เชี่ยวชาญที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจของไทย เช่น นักธุรกิจที่เดินทางมาลงนามสัญญา และเดินทางทางเข้ามาระยะสั้น ต่ำกว่า 14 วัน จะมีการร่นระยะเวลาการกักตัว โดยเดินทางมาจากประเทศที่มีข้อตกลงพิเศษ แต่มีเงื่อนไขอย่างเข้มงวดมากกว่าการเข้าประเทศแบบ Normal Track เช่น ตรวจโควิด-19 จำนวน 2 ครั้ง, ติดตั้งแอพพลิเคชั่นที่กำหนดการเดินทางอย่างชัดเจน

ขั้นตอนให้ชาวต่างชาติเข้าไทย

กลุ่มที่ได้รับการอนุมัติแล้วและยังรอการเดินทาง ให้เดินทางพร้อมกับคนไทยในเที่ยวบินพิเศษ (Repatriation)

กลุ่มที่กำลังจะขออนุมัติการเดินทาง 1. ผู้ที่มีใบอนุญาตทำงาน/ ตท.3 จากกระทรวงแรงงาน/ ใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนส่งเสริมการส่งทุน (BOI) สามารถขอรับหนังสือรับรองการเดินทางจาก สอท./สกญ. โดยตรง ไม่ต้องขอรับการพิจารณาจากกระทรวงต่างประเทศ

2.ให้โรงงาน/BOI อนุมัติออกเอกสารการอนุญาตให้เข้ามาทำงานได้

3.ให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท. หรือ CAAT) อนุญาตให้เที่ยวบินขนส่งสินค้า หรือเที่ยวบินพิเศษรับส่งคนไทย รับผู้ที่เข้าข่าย 3 (5) เดินทางเข้าไทยได้

4.ให้คู่สมควร และบุตรเข้าข่ย 3 (5) เข้าประเทศได้

หลักเกณฑ์ในการรับรองการเดินทางของแขกรัฐบาล

1.คณะเล็กไม่เกิน 10 คน

2.เป็นการเดินทางระยะสั้น

3.มีการตรวจรับรองปลอดเชื้อโควิด-19 ที่ประเทศต้นทางและเมื่อเดินทางถึงประเทศไทย (Double Negative) โดยจะรู้ผลทันที่ในสถานที่ตรวจ

4.ให้หน่วยราชการที่เป็นเจ้าภาพเชิญแขกระดับสูง พิจารณาจัดเจ้าหน้าที่ประจำคณะให้ลักษณะการติดตาม (Liaison Officer: LO)

5.มีเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานความมั่นคงติดตามประจำคณะด้วยทุกวัน โดยผู้ที่มาต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มเติม

6.ต้องจำกัดการเดนิทางเฉพาะกำหนดการที่ได้ตกลงไว้ล่วงหน้าเท่านั้น ห้ามคณะเดินทางไปในที่สาธารณะและห้ามใช้ขนส่งมวลชน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Add Friend Follow

Let's block ads! (Why?)



"การเดินทาง" - Google News
June 29, 2020 at 04:57PM
https://ift.tt/38eHRYa

ศบค. ไฟเขียว 'ต่างชาติ 6 กลุ่ม' เดินทางเข้าไทย - thebangkokinsight.com
"การเดินทาง" - Google News
https://ift.tt/2XBGrDF

No comments:

Post a Comment